Diary no.2

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2560 เวลา 13.30 - 16.30

 
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ    (Children with special needs )

ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
             เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะถูกเรียกหรือให้ความหมายที่แตกต่างกันไป ซึ่งในที่นี้เราจะแบ่งความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษออกเป็นสองทาง ดังนี้
1. ทางการแพทย์
             ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า “เด็กพิการ” หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
2. ทางการศึกษา
             ทางการศึกษาให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่าหมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล
สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง
     • เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
     • มีสาเหตุจากสภาพความ บกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
     • จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด และฟื้นฟู
     • จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะ และความต้องการของเด็กแต่ละบุคล
พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
พัฒนาการ
     • การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
     • ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
     • เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
     • พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน
     • พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
     • ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
     • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
     • ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
     • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
             สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการนี้ หลักๆ แล้วมีทั้งหมด 8 สาเหตุด้วยกัน ดังนี้
1. พันธุกรรม
     • เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย เช่น เด็กปากแหว่ง/เพดานโหว่ (Cleft Lip / Cleft Palate) และธาลัสซีเมีย ตาบอดสี ดาวน์ซินโดม เท้าแสนปม ผิวเผือก เป็นต้น
เด็กปากแหว่ง/เพดานโหว่ (Cleft Lip / Cleft Palate)





ธาลัสซีเมีย

ดาวน์ซินโดม ( down's syndrome)
2. โรคของระบบประสาท
   • เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย 
     • ที่พบบ่อยคืออาการชัก
3. การติดเชื้อ
     • การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก
     • นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
     • โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
     • การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน
6. สารเคมี
     6.1 สารตะกั่ว เป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด ซึ่งสารตะกั่วนี้จะมีอยู่ในภาชนะที่เราใช้ทำอาหารกับ เช่น หม้อ กระทะ เป็นต้น ซึ่งถ้าได้รับสารตะกั่วในปริมาณมากจะมีอาการดังนี้
     • มีอากาศซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ
     • ภาวะตับเป็นพิษ
     • ระดับสติปัญญาต่ำ
    6.2 แอลกอฮอล์ เป็นสารที่เด็กจะได้รับตอนอยู่ในครรภ์มารดา เนื่องจากตอนท้องแม่ดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อเด็กคลอดออกมาก็จะมีอาการดังนี้
     • น้ำหนักแรกเกิดน้อย
     • มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก
     • พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง
     • เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
        เช่น Fetal alcohol syndrome, FAS หรือเด็กดาวน์ซินโดมที่ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ เมื่อเกิดมาจะมีอาการดังนี้
     • ช่องตาสั้น
     • ร่องริมฝีปากบนเรียบ
     • ริมฝีปากบนยาวและบาง
     • หนังคลุมหัวตามาก
     • จมูกแบน
     • ปลายจมูกเชิดขึ้น
Fetal alcohol syndrome, FAS
     6.3 สารนิโคติน เป็นสารประกอบอัลคาลอยด์ชนิดหนึ่ง ไม่มีสี ซึ่งพบในต้นยาสูบทุกสายพันธุ์ และความเข้มข้นจะมีมากในใบยาสูบมากกว่าส่วนอื่นๆ เมื่อนำใบยาสูบมาตากแห้งแล้ว จะมีนิโคตินประกอบอยู่ 0.3-5% ของน้ำหนักทั้งหมด และเด็กส่วนมากที่ได้รับสารนิโคตินก็มักจะมาจากพ่อแม่ที่สูบบุหรี่ โดยเด็กจะมีอาการดังนี้
     • น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
     • เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
     • สติปัญญาบกพร่อง
     • สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้านการเข้าสังคม
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการขาดสารอาหาร
     การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เช่น สภาพแวดล้อม แต่การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการขาดสารอาหารนี้เป็นสาเหตุที่เด็กจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับ 6 สาเหตุแรกที่ยกมา
8. สาเหตุอื่นๆ
อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
     • มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
     • ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไป แม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป
แนวทางการวินิจฉัย เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
     • โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม
     • การเจ็บป่วยในครอบครัว
     • ประวัติฝากครรภ์
     • ประวัติเกี่ยวกับการคลอด
     • พัฒนาการที่ผ่านมา
     • การเล่นตามวัย การช่วยเหลือตนเอง
     • ปัญหาพฤติกรรม
     • ประวัติอื่นๆ
เมื่อซักประวัติแล้วจะสามารถบอกได้ว่า
     • ลักษณะพัฒนาการล่าช้าเป็นแบบคงที่ หรือถดถอย
     • เด็กมีระดับพัฒนาการช้าหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
     • มีข้อบ่งชี้ว่ามีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
     • สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
     • ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร
2. การตรวจร่างกาย
     • ตรวจร่างกายทั่วๆไปและการเจริญเติบโต
     • ภาวะตับม้ามโต
     • ผิวหนัง
     • ระบบประสาทและวัดรอบศีรษะด้วยเสมอ
     • ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse)
     • ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ
     • การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
     • แบบทดสอบ Denver II เป็นแบบทดสอบพัฒนาการเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ ๖ ปี เป็นการเปรียบเทียบความสามารถด้านต่างๆ กับเด็กปกติในวัยเดียวกัน 
     • Gesell Drawing Test คือ การวัดไอคิวแบบง่ายๆ โดยวัดความสามาถในการวาดรูปที่เป็นความสามารถตามอายุ
     • แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล 
            นอกจากนี้การประเมินเด็กแบบไม่เป็นทางการสำหรับครูปฐมวัยอาจทำได้โดยการพูดคุยกับผู้ปกครอง ต้องเป็นลักษณะที่ไม่เน้นซักถาม ให้พูดคุยกันตามปกติ แต่ต้องได้ข้อมูลที่เราอยากรู้
 
แบบทดสอบ Denver II 
Gesell Drawing Test
             นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการเป็นครู คือ ปรัชญาการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ที่กล่าวไว้ว่า all children can learn! ที่มีความหมายในภาษาไทยว่า "ไม่ว่ามนุษย์จะเป็นแบบไหนก็แล้วแต่ เด็กทุกคนสามารถเรียนได้"



ที่มา : เอกสารการสอน โดยอาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เรียบเรียง : นางสาวนพเก้า โมลาขาว นักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย

ความรู้ที่ได้รับ
            ได้ทราบถึงความหมาย ปัจจัย สาเหตุ อาการ รวมไปถึงแนวทางการวินิจฉัยของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
1. ทำให้เรารู้ และเข้าใจเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากยิ่งขึ้น
2. เมื่อเรารู้และเข้าใจแล้ว ในฐานะที่เราเป็นครูปฐมวัยเราต้องให้ความช่วยเหลือและจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเขา

การประเมินผล
1. ตนเอง :ตั้งใจเย็น จดความรู้
2. เพื่อน : ตั้งใจเรียนมาก สนุกกับสิ่งที่อาจารย์สอน
3. อาจารย์ :สอนดี ถึงแม้จะเป็นคาบทฤษฎีก็เรียนได้โดยไม่เบื่อ และไม่อึดอัด ชอบที่มีเคทของเด็กจากประสบการณ์ที่อาจารย์เจอมาเล่าให้นักศึกษาฟัง นับว่าเป็นความรู้ที่นักศึกษาเหมือนกับได้สัมผัสกับของจริงเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น