Diary no.11

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2560 เวลา 13.30 - 16.30
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น (ต่อ)
     3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
          ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ที่จะส่งเสริมให้เด็กพิเศษนั้น เราจะเน้นให้เด็กนั้นได้เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว และ กิจวัตรต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
          การสร้างความอิสระ คือ การที่เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง อยากทำงานตามความสามารถ เพราะเด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่ และคนเหล่านี้ก็เปรียบเสมือนครูของพวกเขา

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
     1. การได้ทำด้วยตนเอง
     2. เชื่อมั่นในตนเอง
     3. เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
         ครูและพ่อแม่ หรือผู้ปกครองไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (เราต้องใจแข็ง) ผู้ใหญ่ส่วนมากมักทำสิ่งต่างๆ ให้เด็กมากเกินไป จนบางครั้งเด็กทำอะไรด้วยตัวเองไม่เป็นเพราะไม่ได้เกิดการเรียนรู้ และบางคนชอบพูดกับเด็กว่า  “ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ” ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเด็กสามารถทำได้เองเพียงแต่เราต้องให้เวลากับเขาให้เขาทำ
จะช่วยเมื่อไหร่
          เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว และเด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ ซึ่งสำหรับครูปฐมวัยแล้วมักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม ช่วยก็ต่อเมื่อเด็กมีท่าทีว่าทำไม่ได้จริงๆ ซึ่งการจะช่วยนั้นก็คือการเข้าไปช่วยสอนให้เขาทำ ไม่ใช่เข้าไปทำให้เขา
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)

          ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเองนั้น เราต้องแบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
เรียงลำดับตามขั้นตอน เช่น การเข้าส้วม ควรจะแบ่งย่อยให้เด็ก ดังนี้
ประเมินเด็กจากการเข้าส้วมว่าเขาทำได้หรือไม่
     4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
   - การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
   - มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
   - เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
   - พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
   - อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
   - ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
   - จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
     1. การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
   - เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
   - เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
   - คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
     2. การรับรู้ การเคลื่อนไหว
   ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น  ---------------->  ตอบสนองอย่างเหมาะสม
     3. ความจำ จากการสนทนา
   - เมื่อเช้าหนูทานอะไร
   - แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
   - จำตัวละครในนิทาน
   - จำชื่อครู เพื่อน
   - เล่นเกมทายของที่หายไป
     4. การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
1. จัดกลุ่มเด็ก
2. เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
3. ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
4. ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
5. ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
6. ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
7. บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
8. รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
9. มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
10. เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
11. พูดในทางที่ดี
12. จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
13. ทำบทเรียนให้สนุก



ที่มา : เอกสารการสอน โดยอาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เรียบเรียง : นางสาวนพเก้า  โมลาขาว นักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย
 

การประเมินผล
1. ตนเอง : ตั้งใจเรียน
2. เพื่อน : ตั้งใจเรียน สนุกกับสิ่งที่ครูสอน
3. อาจารย์ : ใช้การอธิบายที่เข้าใจง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น